พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชบัญญัติ
วิชาชีพบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๗
------------------------------------------------------------------------------- |
|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. ๒๕๐๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
วิชาชีพบัญชี หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ผู้ทำบัญชี หมายความว่า ผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี การระชุมใหญ่ หมายความว่า การประชุมใหญ่สามัญหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ สมาชิก หมายความว่า สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑
สภาวิชาชีพบัญชี
มาตรา ๖ ให้มีสภาวิชาชีพบัญชี มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชี
มาตรา ๗ สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมการศึกษา การอบรม และการวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี (๒) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ระหว่างสมาชิก (๓) กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี (๔) กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (๕) รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
(๖) รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการรับสมัครเป็นสมาชิก
(๗) รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพบัญชี (๘) รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการ และการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (๙) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนอันเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพบัญชีให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบัญชี (๑๐) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้บริการวิชาการแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี (๑๑) ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑) เรื่อง วิธีการเสนอและการพิจารณาร่างข้อบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๒) เรื่อง สมาชิกและการรับสมัครสมาชิก พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๓) เรื่อง ค่าบำรุงสมาชิก พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๔) เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๕) เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งของประธานคณะกรรมการหรือกรรมการวิชาชีพบัญชีแต่ละด้าน อำนาจหน้าที่ และการดำเนินการอื่นของคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีแต่ละด้าน พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๖) เรื่อง ผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๗) เรื่อง การออกใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๔๗] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๘) เรื่อง การประชุมใหญ่และการเสนอเรื่องให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณา พ.ศ. ๒๕๔๗]
[ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๐) เรื่อง ระยะเวลาการประกอบวิชาชีพบัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการจรรยาบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๘] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๑) เรื่อง คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การคัดเลือก และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๘] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๒) เรื่อง การพิจารณาเกี่ยวกับจรรยาบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๙] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๓) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกหัดงาน การทดสอบเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๔๙] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๔) เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ อำนาจหน้าที่ และการพ้นจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งอุปนายก เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน และตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพกำหนด พ.ศ. ๒๕๔๙] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๕) เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๕๐] [ดูข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๖) เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งของประธาน คณะกรรมการ หรือกรรมการวิชาชีพบัญชีแต่ละด้าน อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่นของคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีแต่ละด้าน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐] [ดูบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๗) เรื่อง การออกใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑] (๑๒) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (๑๓) ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาของวิชาชีพบัญชี (๑๔) ดำเนินการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๘ สภาวิชาชีพบัญชีอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าบำรุงสมาชิกและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน (๓) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของสภาวิชาชีพบัญชี (๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาวิชาชีพบัญชี (๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ(๔) มาตรา ๙ ภายใต้บังคับบทบัญญัติหมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการสอบบัญชี และหมวด ๖ การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทำบัญชี ในกรณีที่การประกอบวิชาชีพบัญชีด้านใด มีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ที่จะให้มีการคุ้มครองประชาชนและพัฒนาหรือจัดระเบียบการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านใด จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบวิชาชีพบัญชีด้านนั้นต้องได้รับใบอนุญาตหรือต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีก็ได้
มาตรา ๑๐ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ ใช้บังคับสำหรับวิชาชีพบัญชีด้านใด ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพบัญชีด้านนั้น เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ในการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีจะกำหนดให้ผู้ขึ้นทะเบียนซึ่งมิได้เป็นสมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปีก็ได้ แต่จะกำหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้สูงกว่าค่าบำรุงสมาชิกและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่เรียกเก็บจากสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีเป็นรายปีไม่ได้ มาตรา ๑๑ นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชี หรือให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ ตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (๒) ในกรณีประกอบกิจการให้บริการการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการการสอบบัญชีต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้คำนึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคลนั้น และให้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสภาวิชาชีพบัญชีมาพิจารณาประกอบด้วย ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ให้นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ร่วมรับผิดด้วยอย่างลูกหนี้ร่วม และ ในกรณีที่ยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ครบจำนวน ให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคลใด ซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือ ยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับผิด
|
|
![]() |